ฮวงจุ้ยสำนักแชลั้ง  สำนักแชลั้ง
sumnakcharang.com :: สำนักแชลั้งดอมคอม
HOME  |  ABOUT US  |  NEWS  | ธงชาติ
ฮวงจุ้ยภาควิชาการแห่งแรกในประเทศไทย :: สาระพันความรู้ด้านฮวงจุ้ย สำหรับผู้ต้องการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
  เมนูหลัก Topic 

งานกิจกรรม/ข่าวสาร

วิธีการสั่งซื้อหนังสือ
สถานที่จัดจำหน่ายหนังสือ
ตรวจสอบสถานะการจัดส่ง
 
  เรื่องอื่น ๆ 
สาร์ทในฤดูใบไม้ร่วง
" ตงชิวโจ่ย "
ประเพณีเดือนเจ็ด
    " ซิโกวโจ่ย "
หิ้งพระ หลักการ ข้อห้าม
ตี่จู้ หรือ ตี่จูเอี้ย
" เก่าง่วย "
ประวัติเทศกาลกินเจประจำปี 2552
" ทิศต้องห้าม ตี่จูเอี้ย "
ธูป เครื่องจุดบูชา
สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ไหว้เจ้าขอประทานบุตร
 
 รายการความรู้คู่ตัว Knowledge
เด็ก

  " เก่าง่วย "  

: อีก 1 พิธีกรรมโบราณ
ที่ในปัจจุบัน เริ่มเลือนหายไปตามเวลา

 

ธรรมเนียมประเพณีจีนนั้นมีมากมายหลายอย่าง และไม่ได้แตกต่างจากประเพณีอื่น ๆ ของไทยเรานัก
แต่โบราณมานั้น เทศกาลที่สำคัญของเด็ก ๆ มีอยู่หลายอย่าง
ไม่เว้นแม้แต่เด็กทารกตัวน้อย ๆ ของ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่

โดยเฉพาะคุณแม่ ถือว่าเป็นเวลาสำคัญที่ต้องอาศัย ความอดทนต่อสู้ ระมัดระวังตัวเอง ต่อสิ่งต่าง ๆ ที่หนัก
หนามากมาย ทั้งเสี่ยงต่อชีวิตผู้เป็นแม่เองด้วย เพราะสมัยโบราณนั้น เครื่องไม้เครื่องมือ ไม่ได้ทันสมัย
สะดวกสบายอย่างในปัจจุบัน


ระหว่างการตั้งท้อง ---> คลอดลูก ---> อยู่ไฟ ---> เลี้ยงดู

คุณแม่ทั้งหลายคงจะเข้าใจเป็นอย่างดี ถ้าใครยังไม่เป็นแม่คนใหม่ หรือ เป็นไม่ได้เพราะเป็นผู้ชาย
ลองกลับไปถามความรู้สึกนั้นจาก คุณแม่ของทุกท่านเอง แล้วจะได้ความจริงที่เหมือนกับลอกคำตอบ
กันมาเลย จริง ๆ 
พร่ำพูดมานานกว่าจะเริ่มเข้าเรื่องได้ หลายท่านอาจรู้สึกรำคาญว่าจะพร่ำพรรณาอะไร
มากมาย แต่ได้โปรดเข้าใจด้วยว่า ผู้เขียนเองนั้นให้ความสำคัญต่อ บุพการีเป็นที่หนึ่งเมื่อมีโอกาส ที่จะเขียน
บทความสักชิ้นที่ต้องเกี่ยวข้อง และต้องกล่าวถึง จึงอดไม่ได้จริงๆ ...

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า...

ด้วยคนจีนนั้นมีความเชื่อที่ถูกปลูกฝังมานานแต่โบราณกาล ว่า เด็กเล็ก ๆ นั้น จะมี " กงพั้ว ม่าพั้ว " " กิมฮวยกงพั้ว " " อาพั้ว " ที่คนไทยเรารู้จักในนาม " พ่อซื้อ แม่ซื้อ " คอยดูแล

ซึ่งตามปกตินั้นชาวจีนจะนิยมไหวกัน ตอนเทศกาลวันเกิดของ อาพั้ว ซึ่งทุกปีจะตรงกับ วันที่ 7 เดือน 7
ของการนับแบบจีน ซึ่งบ้านไหนลูกหลานเล็ก ๆ เด็ก ๆ ก็จะนิยมไหว้กันอยู่ และเป็นที่น่าสังเกตว่า
บ้านหลังนั้น ๆ จะต้องมีผู้อาวุโสอยู่ด้วยจึงจะไหว้ แต่สำหรับเจ้าตัวน้อย ๆ นั้น อาพั้วมีบทบาทสำคัญ ตั้งกะ
ตอนเกิดเลยทีเดียว เพราะท่านจะคอยคุ้มครองดูแลเจ้าตัวน้อย ๆ ซึ่งบางที หลายท่าน  อาจแปลกใจที่
เด็กตัวเล็ก ๆ หัวเราะร่า อารมณ์ดีเอง หรือ เด็กบางคนตกจากที่สูง เช่นจากเตียง แต่ไม่เป็นอะไรเลยนั้น
ชาวจีนเชื่อว่า มี อาพั้วคอยดูแลให้นั้นเอง

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นธรรมเนียมปฎิบัติไหว้ และอธิษฐานของพร อาพั้ว
ให้ช่วยคุ้มครองดูแล เด็กเล็ก ๆ

เมื่อเด็ก มีอายุถึง 1 เดือน จึงมีพิธีการไหว้อาพั้ว หรือ  " เก่าง่วย "

" เก่า" แปลว่า ถึง        " ง่วย" แปลว่า เดือน  ดังนั้น " เก่าง่วย " จึงแปลว่า ถึงเดือนนั้นเอง

แต่บางบ้าน ก็ถือปฎิบัตินับโดย เป็นแบบ 40 วันแทน เพราะเนื่องจาก จะเป็นวันแรกที่คุณแม่ของเด็กน้อย
จะได้มีโอกาสไหว้ เทพเจ้าต่าง ๆ ได้อีกครั้ง โบราณความเชื่อคนจีนเมื่อผู้หญิง ได้คลอดลูกและอยู่ไฟ
จะไม่ให้ไหว้เจ้า เพราะถือว่าตัวไม่สะอาดซึ่งการไหว้ " เก่าง่วย " นี้ ผู้ใหญ่ในบ้านหรือคุณแม่จะเตรียม ของ
ไหว้ อันได้แก่

1. เซียะลิ้วก้วย หรือ ขนมจู๋
2. ซากั๊กเล้าก้วย หรือ ขนมจิ๋ม
3. ขนม อั่งก้วย
4. ขนม ฮวกก้วย
5. อั่งอี้ หรือ บัวลอยแดงชมพู หรือ สาคูแดงชมพู
6. ซาแซ หรือ หมูต้ม 1 ชิ้นก็ได้
7. อั้งหนึง หรือไข่เป็ดย้อมสีแดง กี่ฟองก็ได้ แต่นิยมให้ลงเป็นเลขมงคล
8 เซียะลิ้วฮวย หรือ กิ่งทับทิม
9 น้ำตาลแดง หรือน้ำหวานแดง
10 ้ด้าย 7 สีถัก
11 ของใช้ของมงคลของเด็ก ต่าง ๆ ฯลฯ

ซึ่งพิธีกรรมนี้ สามารถไหว้เจ้าที่ในบ้าน ( ตี่จูเอี้ย ) หรือไปไหว้องค์อาพั้ว ตั้งจิต อธิษฐาน ขอให้ช่วยคุ้มครอง
ลูกหลานที่เกิดมาจนกว่าจะโต หลังจากนั้นจะมีการ โกนผมไฟ และนำ เอาน้ำตาลแดงมาป้อนหรือป้ายปาก
เชื่อกันว่า จะทำให้เด็กโชคดีและไล่สิ่งสกปรกออกมาจากตัว ต่อจากนั้น ถึงเวลาสำคัญ นำไข่ที่ไหว้มา
ทำการ วนๆ ที่หัวเด็ก เพื่อให้เป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย และฉลาด และจึงทำการผูกด้าย 7 สี ต่อจากนั้น
จึงนำเอา ไข่แดง ไปแจกให้ญาติ ๆ ซึ่งเมื่อญาติผู้ใหญ่ ได้รับไข่แดง จะเป็นที่รับรู้โดยทั่วกันว่า ครอบครัวนี้
ลูกสาว หรือลูกชาย อายุ ถึงเดือนแล้วนั้นเอง ซึ่งญาติผู้ใหญ่จะทำการรับขวัญหลาน เป็นทองหรือของมงคล

     ซึ่งพิธีกรรมนี้ เป็นพิธีที่กระชับความสัมพันธ์ในหมู่ญาติ ของ ชนชาวจีน ที่โดยส่วนมากเป็น ตระกูลใหญ่
ครอบครัวขยาย มีลูกหลานมาก ถือเป็นเรื่องมงคล ที่ สำคัญ สำหรับ ครอบครัวใหม่ อีกเรื่องหนึ่งทีเดียว


น่าเสียดาย...ที่สมัยนี้ ธรรมเนียมประเพณีเช่นนี้เริ่ม ห่างหายไปตามกาลเวลาซะแล้ว
แต่คิดว่าน่าจะยังมี ครอบครัวมือใหม่อีกมาก ที่ยังไม่ทราบและอาจเป็นประโยชน์ได้
จึงนำมาเขียนเล่าสู่กันอ่าน

 

 

Update   11 - 1 - 2009     @ Webmaster


HOME  |  ABOUT US  |  NEWS  | 

:: Special Thanks :: สื่อต่างๆ ที่ช่วยประสัมพันธ์ให้สำนักแชลั้งดอทคอม

เว็บไซต์นี้ได้รับการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
This Web Site is registered with the Department of Business Development, the Ministry of Commerce of Thailand

เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
e-Commerce Registration Number

 

Copyright ® Sumnakcharang.Com all right reserved.
Contact Tel : 02 - 889 - 1283      Email : webmaster@sumnakcharang.com